วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเทศกาลตรุษจีน

เทศกาลเฉลิมฉลองวันตรุษจีน
ฉลองวันตรุษจีนที่ฮ่องกง
นี่คือการฉลองเทศกาลแห่งวันหยุดที่ไม่เหมือนเมืองใด เพราะการเฉลิมฉลองของที่นี่เต็มไปด้วยขนบประเพณีโบราณ พิธีกรรม และวัฒนธรรม คุณจะได้สัมผัสกับบรรยากาศรื่นเริงที่จะแบ่งปันมาถึงคุณเมื่อชาวฮ่องกงออกมาต้อนรับวันปีใหม่!

สัมผัสการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ของขนบธรรมเนียมโบราณและความสนุกสมัยใหม่ในการฉลองวันตรุษจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คุณจะหลงมนต์เสน่ห์ของตลาดดอกไม้อันหอมกรุ่น ขบวนพาเหรดยามค่ำคืนที่สวยงาม การแสดงดอกไม้ไฟตระการตา กิจกรรมกีฬาที่น่าตื่นเต้น และอื่นๆอีกมากมาย

เทศกาลนี้ได้รับการบรรจุใน Lonely Planet Bluelist 2007 ให้เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวและงานเทศกาลที่มีเสน่ห์ที่สุดของโลก เทศกาลนี้จึงไม่ควรพลาด! เมื่อคุณได้สัมผัส แล้วคุณจะรัก!
พาเหรด

ขบวนพาเหรดนานาชาติวันตรุษจีนยามค่ำคืน คาเธ่ย์ แปซิฟิก
การแสดงที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ได้รวบรวมทั้งความเป็นนานาชาติและองค์ประกอบของความเป็นจีน อาทิเช่น ขบวนแห่ที่ประดับดวงไฟสว่างไสว การเชิดมังกรและสิงโต ตัวตลก วงโยธวาทิต นักแสดงจากทั่วโลก และอื่นๆอีกมากมาย

คลิ๊กที่นี่ เพื่อดูไฮไลต์ของขบวนพาเหรด
เพลิดเพลินกับการเลือกซื้อสินค้าและลิ้มลองอาหารเลิศรส
จากความเชื่อของจีนที่กล่าวว่า “บอกลาสิ่งเก่าเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่” ชาวฮ่องกงจะต้อนรับปีใหม่ของจีนด้วยการเลือกซื้อเสื้อผ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ใหม่ โดยใช้โอกาสในช่วงการลดราคาสินค้าพิเศษในการเลือกซื้อของ ฮ่องกงเป็นหนึ่งในจุดหมายของการช้อปปิ้งที่ยอดเยี่ยมที่ที่มีสินค้าทุกชนิดที่คุณต้องการ ไม่มีที่ไหนที่คุณจะสามารถตามใจตัวเองได้เท่าที่เมืองนี้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพลิดเพลินกับการลิ้มลองอาหารเลิศรสที่เมืองหลวงแห่งอาหารแห่งเอเชีย และรสชาติของอาหารจานเด็ดของฮ่องกงและอาหารประจำเทศกาลของจีน

ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กหยุดทำการในช่วงเทศกาลวันหยุด ร้านค้าและภัตตาคารในโครงการส่งเสริมคุณภาพบริการจะเปิดทำการตลอดช่วงวันตรุษจีน เพื่อนำเสนอสินค้าราคาพิเศษ และอาหารเลิศรสในช่วงวันหยุดพิเศษนี้
Pilgrimages
Pilgrimages

การทำบุญไหว้พระ
เทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาแห่งการขอบคุณสำหรับ 12 เดือนที่ผ่านไป และขอพรสำหรับความโชคดีในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ร่วมไปกับฝูงชนในการทำบุญไหว้พระที่วัดซิกซิกหยวนหว่องไทซิน.ซึ่งมีหมอดูทำนายโชคชะตาในบริเวณใกล้เคียงด้วย แล้วไปหมุนกังหันแห่งโชคลาภที่ วัดเชอกุงในเขตชาทินเพื่อปัดเป่าความโชคร้ายและนำแต่สิ่งดีๆเข้ามา หรือจะไปเยือนต้นไม้ขอพรตามตำนาน ซึ่งตั้งอยู่ที่หลั่มเซินเพื่อขอพร!
Symphony of Lights
Symphony of Lights

กิจกรรมอื่นๆ
ซิมโฟนีออฟไลท์เป็นการแสดงแสงสีเสียงมัลติมีเดียที่ได้รับการยกย่องจากกินเนสบุ๊คให้เป็น “การแสดงแสงและเสียงแบบถาวรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” ซึ่งมีตึกสูง 33 แห่งสองฝั่งอ่าววิคตอเรียร่วมการแสดง ช่วงเวลา 20.00 น.ของทุกคืน ท้องฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นผืนภาพที่แต่งแต้มด้วยแสงสีและเลเซอร์ที่ส่องสว่างสวยงาม การแสดงที่ไม่ควรพลาดนี้จะทำให้คุณอ้าปากค้าง!

จุดที่ดีที่สุดในการชม:
  1. บริเวณอเวนิวออฟสตาร์ริมอ่าวฝั่งจิมซาโจ่ย
  2. พื้นที่บริเวณโกลเด้นโบฮีเมียสแควร์ ในเขตวันไช
  3. ร่วมทัวร์ล่องชมอ่าวที่เป็นจุดนั่งชมการแสดงที่ดีที่สุด
สัมผัสกับส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ของฮ่องกงด้วยการเยี่ยมชมอเวนิวออฟสตาร์ ริมอ่าวฝั่งจิมซาโจ่ย ที่นี่คุณจะได้พบกับแผ่นจารึกชื่อ รอยประทับมือของเหล่าดาราคนดังและผู้มีคุณูปการในวงการภาพยนตร์ รูปปั้นความสูง 2 เมตรของบรู๊ซลีดารากังฟูระดับโลก การเลือกซื้อของที่ระลึก และวิวแบบพาโนรามาของอ่าวและตึกสูงบนเกาะฮ่องกง

การเดินทาง : MTR สถานี Tsim Sha Tsui Exit F แล้วเดินต่อไปที่อุโมงค์ลอดข้ามถนน ไปที่ KCR สถานี East Tsim Sha Tsui ทางออก J และเดินต่อไปตามป้ายบอกทาง
ความสนุกแบบอินเตอร์แอคทีฟ
มาดูความสนุกของการเฉลิมฉลองวันตรุษจีนกับการ์ดอิเลคทรอนิคส์ วอลล์เปเปอร์ และการตกแต่งสวยงามแบบจีน - hui chun (คำอวยพร) ดูคำทำนายตามปีเกิดแบบจีนเพื่อรู้ล่วงหน้าว่ามีอะไรรอคุณอยู่ในปีกุน!

วันกองทัพไทย

๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

ในวันที่ 18 มกราคม 2550 ประกาศเป็นวันกองทัพไทยเป็นปีแรก ซึ่งก่อนหน้านี้คือ“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”


“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ อันตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทนวันที่ ๒๕ มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ


ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้


ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระ อินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และครั้งที่สาม ก็คือครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล

หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานเรานานถึง ๑๕๐ ปี ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๔๑๕ ปีแห่งวันกระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์


สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๑๘ แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระบิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และพระสุริโยทัยวีรกษัตรีย์ของไทยเป็นพระมารดา จึงอาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับพระสายโลหิตความเก่งกล้าสามารถสืบเนื่องมาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางพระชนก และเลือดพระสุริโยทัยซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)ทางพระมารดา


ทรงมีพระสุพรรณกัลยา เป็นพระพี่นาง และมีพระเอกาทศรถเป็นพระอนุชา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา ทำให้ทรงไม่มีพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา ดังนั้น เมื่อเสด็จสวรรคต พระเอกาทศรถจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา


สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญการรบยิ่ง ทรงฉลาดในการวางแผนยุทธวิธีและอุบายกระบวนศึกที่ไม่เหมือนผู้ใดในสมัยเดียวกัน ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่ว่าจะเป็นปืน ดาบ ทวนหรือง้าว เป็นต้น


ฝีมือการรบของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเก่งกาจจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ข้าศึกศัตรู ดังปรากฏในพงศาวดารพม่าพอสรุปได้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตัดพ้อว่า ไม่มีใครที่จะอาสามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาเลย ทั้งๆที่พระนเรศวรมีรี้พลแค่หยิบมือเดียว แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง พระยาลอ ขุนนางคนหนึ่ง จึงทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญที่พระนเรศวรองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่ม รบพุ่งเข้มแข็งทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาดรี้พลทั้งนายไพร่กลัวพระนเรศวรยิ่งกว่ากลัวความตาย เจ้าให้รบพุ่งอย่างไรก็ไม่คิดแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น คนน้อยจึงเหมือนคนมาก ข้อความดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้อย่างชัดเจน





อาจกล่าวได้ว่าตลอดพระชนมชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่เคยทรงอยู่อย่างสะดวกสบายและต้องทรงกระทำการรบมาโดยตลอด กล่าวคือ เมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษาก็ต้องไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดีอยู่ ๖ ปี ครั้นเสด็จ กลับมากรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ปีต่อมาพระบิดาก็ส่งไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ได้ทรงจัดฝึกทหารแบบใหม่ พอพระชนมายุ ๑๙ พรรษาทรงยกกองทัพไปพร้อมพระบิดาเพื่อช่วยทัพหลวงกรุงหงสาวดีตีเมืองเวียงจันทร์ ครั้นพระชนมายุ ๒๓ พรรษา ได้ลงเรือไล่ติดตามพระยาจีนตุขุนนางจีนเมืองเขมรที่หนีไป โดยใช้พระแสงปืนยิงต่อสู้ด้วยพระองค์เอง อย่างไม่หวาดหวั่นหรือหลบกระสุนที่ยิงโต้กลับมาเลย จนศัตรูยิงถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกไป


แม้จะจับพระยาจีนตุไม่ได้แต่ความกล้าหาญของพระองค์ก็เป็นที่เลื่องลือ ครั้นพระชนมายุ ๒๔ พรรษา ก็ทรงเป็นแม่ทัพไล่ตีพระทศราชา ซึ่งคุมกองทัพเขมรมาตีโคราชและหัวเมืองชั้นในจนได้ชัยชนะทั้งๆที่กำลังน้อยกว่ามาก จนเขมรขยาดไม่กล้ามารุกรานอีก พอพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษาได้แสดงพระปรีชาสามารถในการวางแผนการรบจนตีเมืองคังได้สำเร็จ ขณะที่อีก ๒ กองทัพของพม่าตีไม่สำเร็จ พอพระชนมายุ ๒๙ พรรษาได้ยกทัพไปช่วยรบเมืองอังวะตามคำสั่งหงสาวดี และได้ทราบกลอุบายว่าทางพม่าจะกำจัดพระองค์ จึงแสร้งเดินทัพช้าๆ และต่อมาก็ได้ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อพ.ศ. ๒๑๒๗ ทำให้กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามา ๑๕ ปี ไม่ต้องขึ้นกับพม่าอีกต่อไป


ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง)จึงให้สุรกรรมายกทัพมาตามจับพระองค์ๆจึงได้ยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุรกรรมาตาย ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา พระมหาธรรมราชา พระบิดาสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกองค์หนึ่ง ครั้นพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ก็ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา พระชนมายุ ๔๐ พรรษาเสด็จยกทัพไปตีเมืองเขมร จับพระยาละแวกมาทำพิธีปฐมกรรม (คือตัดศีรษะเอาโลหิตมาล้างพระบาท) และแม้แต่ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ก็ยังอยู่ในระหว่างการยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี)ที่พระพักตร์และเป็นพิษจนเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพ.ศ. ๒๑๔๘ รวมสิริพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี


ในหนังสือ ๔๐๐ ปีสมเด็จพระนเรศวร ที่เรียบเรียงโดยนายสมชาย พุ่มสอาด นายสมพงษ์ เกรียงไกรเพชร และนายกมล วิชิตสรศาสตร์ ได้เขียนไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นกษัตริย์ที่ปรากฏว่าทรงรอบรู้ศิลปศาสตร์ ถึง ๑๘ อย่าง อันเป็นวิทยาการสำคัญสำหรับขัตติยราชในโบราณอย่างยอดเยี่ยม เช่น ทรงรอบรู้ในยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ ทรงรอบรู้หลักและวิธีปฏิบัติเพื่อปกครองใจคน อันเป็นหลักการเดียวกับปัจจุบัน และยังทรงรอบรู้อรรถภาษิต โวหาร รู้แต่งและฟังฉันท์ ทรงรู้ฤกษ์ยาม และวิธีโคจรของดาวหรือดาราศาสตร์ ทรงรู้ทิศและพยากรณ์ อีกทั้งทรงรู้มายาเล่ห์เหลี่ยมและเหตุผลต่างๆ เป็นต้น


ซึ่งความรู้เหล่านี้ทรงศึกษาจากพราหมณ์ ปุโรหิตบ้าง จากพระบิดาโดยตรงบ้าง แต่ส่วนใหญ่ทรงศึกษาจากประสบการณ์ของพระองค์เอง รวมทั้งประสบการณ์จากเมืองพม่าเมื่อครั้นไปเป็นตัวประกันอยู่หงสาวดี ทรงเป็นบุรุษที่มีคุณสมบัติเป็นชายชาติทหารสมกับเป็นนักปกครองอย่างเต็มเปี่ยม คือ ทรงมีความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง อีกทั้งยังมีน้ำใจห้าวหาญ เด็ดขาด และมีฝีมือในการต่อสู้ยิ่ง

วันครู



         ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ครู คือ ผู้ยกวิญญาณของโลก ให้สูงขึ้นโดยหน้าที่ และโดยสิทธิครู คือ ปูชนียบุคคลของโลก ครูมิใช่เรือจ้างที่จะรับจ้างสอนหนังสือ หรือวิชาบางวิชาในหัวใจของครู มีแต่ปัญญากับเมตตาเคียงคู่กันอยู่ ปัญญาคือความรู้ความสามารถที่จะยกวิญญาณของเด็กให้สูงขึ้น เมตตา คือความรัก ความเสียสละเพื่อทำหน้าที่ของตน โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือเอือมระอา
        ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
        ด้วยความเห็นสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้น ในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม
        ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู
        ในปีพ.ศ.2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมานตรีในสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป
        ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2599 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติ ครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น "วันครู"
        วันครูได้ให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
        คำปฏิญาณ
        ข้อ 1.    ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
        ข้อ 2.    ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศืษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
        ข้อ 3.    ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
            ความมุ่งหมายในการจัดงานวันครู
            1. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
            2. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครู
            3. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

        การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
            1. กิจกรรมทางศาสนา
            2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
            3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

วันเด็ก

ประวัติ วันเด็ก
 

น้องๆทราบกันไหมคะว่า วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ของทุกปี เป็นวันอะไร เด็กๆ ยกมือกันเป็นแถวเลย ถูกแล้วค่ะ "วันเด็ก" ทีนี้เราลองมาทราบประวัติความเป็นมาของวันเด็กกันดีกว่านะคะ
ความเป็นมา
นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของเด็ก และเพื่อกระตุ้นเตือนให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง
งานวันเด็กแห่งชาติในเมืองไทยครั้งแรกนั้น จัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ.2498 และได้จัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จนถึง พ.ศ.2506 จึงมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนไปจัดงานวันเด็ก ในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่พ้นจากฤดูหนาวมาแล้ว และเป็นวันหยุดราชการทำให้เกิดความสะดวกด้วยประการทั้งปวง
แต่ในปีถัดมา คือปี พ.ศ.2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดในปี พ.ศ.2508 ซึ่งถือเอาวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ มาจนถึงบัดนี้
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ในวันเด็กแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงโปรดระทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี จะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี
สำหรับคำขวัญวันเด็กประจำปีนี้ที่นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย มอบให้กับเด็กๆ คือ
"มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย"
เด็กคือทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ บ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคม ตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่นๆ ฯลฯ
ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรูถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่เรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ

คำขวัญวันเด็กปี 2548
เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

ความเป็นมา...วันเด็ก
ที่มาในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเกิดจากความคิดเพื่อกระตุ้น ให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง โดยนายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อ กรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของเด็ก
สำหรับงานวันเด็กแห่งชาติในเมืองไทยครั้งแรกนั้น จัดขึ้นในวันจันทร์แรก ของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้จัดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จนถึง พ.ศ. 2506 จึงมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนไปจัดงานวันเด็กในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมเนื่องจากเห็นว่า เป็นช่วงที่พ้นจากฤดูฝนมาแล้ว และเป็นวันหยุดราชการทำให้เกิด ความสะดวกด้วยประการทั้งปวง แต่ในปีถัดมา คือปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทันจึงได้เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่งถือเอาวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมเป็นวันเด็กแห่งชาติมาจนถึงบัดนี้
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ทุกๆ ปี ในวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"
ความหมาย
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และเด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์

ความเป็นมา
 
เด็กนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็กจึงควรที่จะเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็ง ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวมดังนี้แล้ว ก็จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "เด็กดี" ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญมีความผาสุกร่มเย็นต่อไป
 
ความคิดในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองนั้น นายวีเอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ได้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของเด็ก วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทยจึงจัดให้มีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และปฏฺบัติกันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ต่อมาเห็นว่า วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เหมาะสมสำหรับการจัดงานวันเด็กมากกว่า เนื่องจากพ้นฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ แต่ในปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้จัดกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 งานวันเด็กแห่งชาติจึงจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 2  ของเดือนมกราคม มาจนถึงบัดนี้ ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาตินั้น
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ให้เด็กทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เด็ก ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง รู้ถึงความมีระเบียบวินัย รู้จักสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันเด็กแห่งชาติ
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี ซึ่งล้วนเป็นการเสนอแนะให้แนวทางที่เด็กสามารถปฎิบัติได้ พลังของเด็กในปัจจุบัน ถ้ามีพื้นฐานมาแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดและทำในสิ่งที่ดีและละเว้นความชั่ว ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติ

กิจกรรม
 
ข้อเสนอแนะและตัวอย่างกิจกรรมในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เช่น การจัดประชุม สัมมนา ในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของเด็กที่พึงปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัว หรืออาจจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับเด็ก มอบของขวัญในโอกาสวันสำคัญนี้ให้แก่เด็ก ๆ ที่มีความประพฤติดี และ กิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นต้นความหมายของวันเด็ก

วันกาชาดไทย

วันกาชาดไทย



กาชาด หมายถึง ตีนกาสีแดง สภาการกุศลสำหรับชาติหรือประชาชนทั่วไป

วันกาชาดเป็นวันที่คนไทยควรจะตระหนักถึงความสำคัญของสภากาชาดไทยที่มีต่อสังคมในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และเข้าร่วมกิจกรรมวันกาชาดไทยเพื่อสนับสนุนช่วยกาชาดด้านกำลังทรัพย์ กำลังความคิดในกิจการสาธารณกุศลให้ดำเนินก้าวหน้าต่อไป

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2402 เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ชาวสวิสชื่อ นายอองรี ดูนองต์ (อังรี ดูนังต์) ได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันนำทหารที่บาดเจ็บไปทำการรักษาพยาบาล โดยนายอองรี ทำการรักษาให้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าเป็นฝ่ายใดหรือชาติไหนดังนั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงมีความชื่นชมในมนุษยธรรมของนายอองรี และได้มีการจัดตั้งองค์การสาธารณกุศลในประเทศของตน ต่อจากนั้นมีการรวมตัวกันกลายเป็นสภากาชาดสากล ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโอกาสต่อมา

ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป

องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี ซึ่งไม่มีกำหนดวันที่แน่นอนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การจัดงานวันกาชาดก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ การดำเนิน ผลงาน กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436
(ร.ศ.112) ใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดง แห่งชาติสยาม" โดยดำเนินการช่วยทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์
รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากภัยสงคราม และภัยพิบัติต่างๆ

ปี พ.ศ. 2449 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงนามความตกลงเรื่องการใช้เครื่องหมายกาชาดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม โดยใช้เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์
ปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครองราชย์สืบต่อมา ได้ทรงสืบทอดพระราชภารกิจของสภากาชาดสยามให้เจริญก้าวหน้าเช่นอารยประเทศ
ปี พ.ศ.2454 พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้แทนจากสภากาชาดสยามไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามความตกลงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ) และทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม บริหารงานของสภากาชาดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทรงมีพระราชโองการให้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามในปี พ.ศ.2461
ปี พ.ศ.2463 ทรงนำสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกของกาชาดสากลในปี สภากาชาดสยามเป็นสมาชิกกาชาดสากล ประเทศลำดับที่ 27
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 กิจการของกาชาดสยามเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด
ปี พ.ศ.2482 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สภากาชาดสยาม เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย ตามชื่อของประเทศ
ปัจจุบันสภากาชาดไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นอุปถัมภกสภากาชาดไทย



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสภานายิกาสภากาชาดไทย



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย